วันอาทิตย์ที่ 7 กันยายน พ.ศ. 2551

ชวเลข

ชวเลข (shorthand) หมายถึงวิธีการเขียนข้อความอย่างย่อด้วยสัญลักษณ์ เพื่อเพิ่มความเร็วในการเขียนหรือการจดบันทึก เมื่อเทียบกับการเขียนปกติธรรมดาในภาษาหนึ่งๆ ขั้นตอนของการเขียนให้เป็นชวเลขเรียกว่า การเขียนชวเลข (stenography: มาจากภาษากรีก stenos = แคบ, ใกล้; graphos = การเขียน) หรือบางครั้งอาจเรียกว่า brachygraphy หรือ tachygraphy ชวเลขนั้นมีหลากหลายรูปแบบมาก ระบบชวเลขทั่วไปมักจะมีการกำหนดสัญลักษณ์หรือคำย่อเพื่อแทนคำหรือวลีธรรมดา ซึ่งช่วยให้ผู้ฝึกฝนสามารถเขียนชวเลขได้เร็วพอๆ กับคำพูดของคน
ชวเลข คือภาษาเขียนประเภทหนึ่งที่สามารถใช้แทนภาษาไทยหรือภาษาอังกฤษได้ มีลักษณะเป็นสัญลักษณ์ ใช้เขียนตามเสียง ต้องมีการฝึกฝนจึงจะสามารถใช้เป็นเครื่องมือในการจดตามคำบอกซึ่งอาจเป็นในรูปของจดหมาย หรือคำสั่งต่างๆ ทั้งนี้ ส่วนใหญ่ชวเลขใช้ในการจดบันทึกการประชุม ภาษาชวเลขมีหลักการกว้าง ๆ คือ 1. ชวเลขเป็นการเขียนตามเสียง หมายความว่าจะเขียนตามเสียงที่ได้ยินเท่านั้น แม้ว่าในการเขียนจะมีสระ พยัญชนะอะไร หากไม่ออกเสียงสระหรือพยัญชนะนั้นก็ไม่ต้องเขียนตัวชวเลข เช่น สรวล ตัว ร ไม่ออกเสียง ตัวชวเลขจะเขียนเพียง สวน หรือศาสตร์ ตัว ตร์ ไม่ออกเสียง ตัวชวเลขจะเขียนเพียง สาด 2. ชวเลขไม่มีวรรณยุกต์ การเขียนจะถือการออกเสียงเป็นหลัก แม้การเขียนโดยปกติ คำหรือถ้อยคำนั้นจะมีวรรณยุกต์อยู่ด้วยก็ตาม ผู้ถอดชวเลขจะทราบจากข้อความได้เองว่าคำนั้นคือคำใด เช่น นา หน่า หน้า หนา ตัวชวเลขจะเขียนเป็นตัวเดียวกันคือ นา ถ้าชวเลขเขียนว่า น้าของแดงใจดีมาก ผู้ถอดชวเลขจะทราบทันทีว่า นา ตัวนั้นคือน้า ทั้งนี้เพราะข้อความที่บอกว่าของแดงใจดีมาก ทำให้เข้ารูปประโยค จึงช่วยให้สามารถถอดชวเลขได้อย่างถูกต้อง 3. การอ่านชวเลข ให้ผู้เรียนอ่านพยัญชนะและสระจนมั่นใจว่าจำได้จึงค่อยอ่านบรรทัดต่อมา สำหรับตัวเลขที่เป็นตัวผสมให้ผู้เรียนสะกดแล้วอ่านทีละคำจนคล่อง จากนั้นก็อ่านโดยไม่จำเป็นต้องสะกด ให้อ่านจนคล่องและมั่นใจว่าอ่านได้แล้วจึงค่อยอ่านข้อความต่อไป ชวเลขถือเป็นความสามารถพิเศษ เพราะผู้จดจะสามารถฟังด้วยความเข้าใจและจดตาม เมื่อถอดชวเลขก็สามารถพิมพ์ออกไปได้เลย ทำให้ประหยัดเวลา และผลงานก็ถูกต้องแม่นยำ ชวเลขช่วยให้มีความคล่องตัวสูง เมื่อรับคำสั่งแล้วนำพิมพ์ลงในคอมพิวเตอร์หรือพิมพ์ดีด ก็จะได้ขัดเกลาสำเนาไปในตัวให้เป็นภาษาที่สละสลวยมากขึ้น ผลงานที่พิมพ์ออกมาก็สมบูรณ์ วิชาชวเลขมีบรรจุอยู่ในหลักสูตรสำหรับสายพาณิชยกรรม เป็นวิชาหลักของแผนกเลขานุการในระดับ ปวช. ในโรงเรียนพาณิชยการ และอาจจะเป็นวิชาเลือกในสถาบันเทคโนโลยีราชมงคล หรือสถาบันราชภัฏบางแห่งก็มีการเปิดสอน ผู้สนใจอาจจะหาหนังสือมาอ่านได้ เช่น หนังสือชวเลขไทย 1 ของ ผศ.เกษกานดา สุภาพจน์ ราคาเล่มละ 80 บาท นักข่าวไม่ต้องจดชวเลขเป็นก็ได้ แต่ต้องจดข่าวให้เร็ว อย่างที่เห็นพี่นักข่าวเขาจดยิกๆ กันในทีวีนั่นแล ใช้เทปบันทึกเสียงก็ได้อยู่หรอก แต่มันเสียเวลาต้องมาถอดเทป สู้จดไม่ได้ เร็วกว่า จะใช้ตัวย่อใช้สัญลักษณ์ก็ใช้ไป แต่ต้องเร็วและอ่านออกได้เนื้อถ้อยกระทงความด้วยนา สำหรับคุณสมบัตินักข่าวโดยพื้นฐานก็ต้องรักและสนใจที่จะใฝ่รู้ กระตือรือร้น จะให้ดีควรเรียนสายนิเทศศาสตร์ วารสารศาสตร์ หรือสื่อสารมวลชน

วันอาทิตย์ที่ 17 สิงหาคม พ.ศ. 2551

เครื่องดนตรีสากลประเภทเครื่องสาย

ประวัติของเบส

เมื่อกล่าวถึง Bass line เริ่มเป็นที่รู้จักกันในวงการดนตรี โดยเริ่มได้ยิน เช่นในบทเพลงของ J.S. Bach ระหว่างปี 1685-1750 ซึ่ง bass line มีความ สำคัญเฉกเช่นเดียวกับในส่วนของ soprano , alto , tenor เลยที่เดียว โดยในดนตรีคลาสสิก และ ออเครสตร้า เสียงเบสจะถูกกำหนดขึ้นโดยเครื่องดนตรีที่มีชื่อว่า upright bass หรือ bass viola ซึ่งเป็นเครื่องดนตรีตระกูลเบสรุ่นแรก

ส่วนประกอบ
1.Tunning คือตัวปรับสาย ตั้งสาย
2.Nut คือสะพานสาย ด้านบน เฟร็ตที่ 0 หรือสายเปล่า มีหลายชนิดให้เสียงที่ต่างกัน
3.Fingerboards เป็นที่ๆให้เรากดเคลื่อนตัวโน๊ต มีไม้หลายชนิดให้ลักษณะของเสียงที่ต่างกันเช่นกัน

4.Frets เหล็กตามช่อง ความยาวของคอมีหลายขนาด มาตรฐาน ของ เบส 4 สาย จะเป็น Scale 34 หมายถึง จากนัดจนถึง สะพานสายยาว 34 นิ้ว
5.Bridge หรือสะพานสาย มีหลายชนิด ทั้งแบบแยกอิสระ หรือติดกัน วัสดุก็ต่างกัน ใช้ในการตั้ง Action Notation

6.Body หรือตัวเบส ทำจากเนื้อไม้เป็นส่วนใหญ่ มีหลายชนิดให้เสียงต่างๆ กัน ใช้เป็นส่วนหนึ่งในการเลือกซื้อเบส
7.Pickup ตัวรับเสียงเป็นแถบแม่เหล็กไว้แปลสัญญาณการสั่นของสายออกมาเป็นเสียง มีหลายแบบ ให้เสียงที่ต่าง ๆกัน
8.Truss Rod ที่ไขคอ อาจอยู่ด้านหัวหรือปลายก็ได้ ไว้ ไขปรับความโค้งของคอ เป็นน๊อตรูป หกเหลี่ยม

ลักษณะของเบส
เบส คือเครื่องดนตรีไฟฟ้าประเภทสายที่มีการกำเนิดเสียงด้วยเครื่องขยายเสียง โดยเสียงของเบสจะเป็นเสียงต่ำที่ให้ความหนักแน่นปกติเบสไฟฟ้าจะมี 4 สาย แต่ปัจจุบันได้มีการทำเบส 5-12 สาย ซึ่งเบสชนิดนี้เหมาะสำหรับใช้ในการโซโล หรือเมื่อผู้เล่นต้องการโชว์เทคนิคขั้นสูง เพราะการที่มีสายมาก คอก็จะกว้างมากขึ้น และเหมาะสำหรับแนวเพลงที่หนักขึ้น

หน้าที่ของเบส

หน้าที่ของเบสในวงดนตรีคือการให้เสียงที่เป็นรากฐานของคอร์ดนั้นๆ เบสต้องทำหน้าที่ทั้งรักษาจังหวะแล้วก็ช่วยโอบอุ้มวงไว้ เบสจึงมีความสำคัญมาก ถ้าเล่นผิดเพลงจะฟังเพี้ยนทันที ไม่กระชับ ไม่เป็นเพลงเลย

หน้าที่ของดับเบิ้ลเบส
ดับเบิ้ลเบส จะต่างจากเบสไฟฟ้าตรงที่มันไม่มีตำแหน่งระบุคอร์ด หรือโน๊ต คือถ้าเราเล่นกีตาร์หรือเบสไฟฟ้า มันจะมีเฟร็ตที่จะบอกว่าตรงไหนโน้ตอะไร แต่ดับเบิ้ลเบสเป็นเครื่องดนตรีกลุ่มเดียวกับไวโอลิน เพราะฉะนั้นประสาทสัมผัสในการฟังของคุณต้องดีมาก แล้วยิ่งเป็นย่านความถี่ต่ำ หูคุณก็ยิ่งต้องดีขึ้นไปอีก

สิ่งสำคัญในการเล่นดับเบิ้ลเบส
ประสาทสัมผัสในการฟังของคุณต้องดีมาก แล้วยิ่งเป็นย่านความถี่ต่ำ หูคุณก็ยิ่งต้องดีขึ้นไปอีก

ตัวอย่างคอร์ดเบส
เพลง สองรัก

Artist : Zeal
A D Bm E
แต่ก่อนแต่ไร เข้าใจ ว่าการเป็นคนรัก คือเรียนรู้กันและกัน
A Bm C#m Dm
แต่ถ้าใครคนหนึ่ง ไม่ใช่ตัวจริง ก็คงต้องจากกัน เหมือนดังเรื่องเธอกับฉัน
Instru : D/A ( 2time ) A D Bm E
ทนเจ็บและยอมรับมา เมื่อเธอได้เจอตัวจริง กว่าฉันถึงต้องไป
A Bm C#m D
แต่มาวันนี้ เธอมีเรื่องราวมากมาย ที่ฟังไม่เข้าใจ ยิ่งฟังยิ่งทรมานฉัน
C#m F# Bm Dm *
เธอบอกเหตุผลที่หยุดความรัก ระหว่างฉัน เพราะเธอไม่รู้ว่า จะรักเขามากกว่าไหม
C#m F# Bm E
ตัวปลอมอย่างฉัน ก็ยังคงรัก บอกอย่างนี้ได้ไง อย่าปล่อยให้หวัง กันอีกเลย
D C#m
** สองรัก ฉันรับไม่ไหว เธอมีหนึ่งใจ ให้ไปตั้ง
D C#m
สองรัก ทั้งเขาและฉัน ฝันไปหรือเธอ
D C#m F#m
มีใคร ยอมทนบ้างไหม ลืมตาตื่นมาสักทีเถอะ
Bm Dm
สองหัวจิต หัวใจอย่างนี้ เลือกซักทีเถอะ เอา

กีต้าร์
แบ่งออกเป็น 3 ประเภทใหญ่ๆ คือ
1.กีต้าร์คลาสสิค
2.กีต้าร์ไฟฟ้า
3.กีต้าร์โปร่ง

ประวัติความเป็นมา
กีต้าร์คลาสสิคมีประวัตความเป็นมากว่า สี่ศตวรรษ มีบทประพันธ์จากศิลปินมากมาย อาทิเช่น Gaspar Sanz (1640-1710), Fernando Sor (1778-1839), Mauro Giuliani (1781-1829), Francisco Tarrega (1852-1909), Andr?s Segovia (1893-1987), The Romeros, Julian Bream (1933), and John Williams (1941).

การเล่น
การเล่น กีต้าร์คลาสิค ใช้นิ้วมือเป็นหลั แทนการใช้นิ้ว ดีดแทนปิ๊ค ซึ่งผู้เล่น สามารถเล่นแนวประสานได้ถึง 4 แนวพร้อมๆกัน เสียงที่ได้เกิดจากเทคนิคการใช้ปลายนิ้วและเล็บ ซึ่งจะให้เสียงที่แตกต่างกันไป เนื่องจากการใช้นิ้วเป็นหลักนี้ ทำให้ระยะห่างของสายแต่ละเส้น ต้องมีระยะห่างมากขึ้น นั่นทำให้ ฟิงเกอร์บอร์ด (fingerboard) มีความกว้ามากกว่า กีต้าร์แบบอื่นๆ เล็กน้อย

ท่าทางของการเล่นกีต้าร์คลาสสิค
ท่านั่งของการเล่น กีต้าร์คลาสสิคนี้ ที่ถูกต้อง นักกีต้าร์ ต้องวางขาซ้ายไว้บนเก้าอี้รองขา ( footstool) และกีต้าร์จะวางไว้ที่ขาซ้าย วิธีนี้ทำให้ นักกีต้าร์ สามารถควนคุมสายกีต้าร์ บน ฟิงเกอร์บอร์ด (fingerboard)ได้ดียิ่งขึ้น ประกอบกับการใช้ เนื้อที่ปลายนิ้วและเล็บทำให้ นักเล่นกีตาร์คลาสิค สามารถที่จะสร้างเสียงได้หลากหลายและกว้าง
ส่วนประกอบกีต้าร์ไฟฟ้า

Single Coil – ให้เสียงใส และให้เนื้อเสียงที่เด่นชัด ซึ่งนักกีต้าร์หลายคนต่างก็หลงใหลต่อเสียงแบบนี้เพราะความมีเอกลักษณ์โดดเด่นของมัน เสียง Classic Fender สามารถเป็นตัวอย่างของเสียงแบบนี้ได้เป็นอย่างดี ขอยกตัวอย่างมือกีต้าร์ที่ทุกคนรู้จักกัน เช่นเสียงกีต้าร์ของ Eric Johnson หรือ Stevie Ray Vaughan เป็นต้น

ส่วนประกอบกีต้าร์โปร่ง
ส่วนหัว ( Headstock ) จะเป็นส่วนที่มีลูกบิด ( Tuning Keys ) ที่จะเอาไว้ใส่สาย ตรงที่เป็นลูกบิดเรียกว่า Tuners ส่วนตรงที่มีรูให้เอาสายแหย่เข้าไปเรียกว่า Tuners postsส่วนแท่งสีขาวๆเล็กๆ ที่สายกีต้าร์พาดผ่านมันลงไป เราเรียกว่า nut ( นัท )

ส่วนคอ ( neck ) ก็จะมีฟิงเกอร์บอร์ด ( fingerboard ) และเฟร็ต ( frets )

ส่วนลำตัว ( body ) ก็จะมีช่องกลมๆใหญ่ๆที่เอาไว้รับเสียงเรียกว่า ซาวด์โฮล
( soundhole ) และในช่องนี้ยังสามารถที่จะติดตั้งอุปกรณ์รับเสียง ( pickup ) ได้ด้วย และมีปิ้คการ์ด ( pickguard ) เอาไว้ป้องกันรอยขูดขีดจากปิ้คของเราล่างสุดก็จะเป็นหย่องหลัง โดยอันที่ยึดติดกับตัวกีต้าร์เราเรียกว่า แซดเดิ้ล ( saddle ) จะมีหมุดสำหรับใส่สาย และมี บริดจ์
( bridge ) คอยรองสายเอาไว้

ตัวอย่างคอร์ดกีต้าร์

เพลงขาหมู
Intro : F#m7 B7 / G#m7 C#7 / F#m7 B7 / E ( 2 times) C#m7 Bm7
เกลียดละคร แต่ก็ดูมันทุกตอน เกลียดคนใจร้อน แต่ก็ชอบมวย
Amaj7 F#7เ
กลียดคนรวยนักชอบดูถูกฉัน แต่เมื่อคืนเพิ่งฝันว่าถูกหวย
C#m7 Bm7
เกลียดใครก็ได้เจอมันทุกวัน เกลียดคนผิดนัดแต่ฉันก็เคย
Amaj7 F#7
เกลียดจังตอนแฮงค์ ปวดหัวตอนเช้า ตกเย็นกินเหล้าไม่หยุดเลย
A G#m7 F#m7 C#7 A
*ชีวิตคนสับสนวุ่นวาย เพราะหัวใจมันคล้ายมีบางอย่าง
E C#7 F#m7 B7
**เกลียดความรักที่ทำให้เราต้องเสียใจ แต่ก็ยังค้นยังคอยจะหามันเรื่อยไป
G#m7 C#7 F#m7 B7
เจ็บไม่จำทั้งๆที่รู้ สุดท้ายที่รออยู่คืออะไ
E C#7 F#m7 B7
เกลียดความรัก ที่ทำให้เราต้องร้องไห้ แต่ก็เหงาถ้าไม่มีเขาก็ไม่ได้
G#m7 C#7 F#m7 B7 E
อยู่คนเดียวมันยังไม่พอ ต้องขอใครซักคนเข้ามาทำให้ใจเจ็บช้ำ ไม่เข้าใจ
Instru: F#m7 B7 / G#m7 C#7 / F#m7 B7 / E
C#m7 Bm7
เกลียดการพนันแต่ก็เคยเป็นเจ้ามือ รำคาญมือถือแต่ฉันก็มี
Amaj7 F#7เ
กลียดจังความอ้วนใครๆก็รู้ แต่ยังสั่งขาหมูกินอยู่ดี
C#m7 Bm7
เกลียดการมองคนที่หน้าตา แต่พอเจอดาราขอลายเซ็น
Amaj7 F#7
เกลียดคนยั้วเยี้ยะ อึดอัดทุกครั้ง แค่ถ้าอยู่ในผับฉันก็ต้องเต้น
G#m7 F#m7 B7
ถึงฉันเกลียดแต่ฉันก็ต้องการ ไม่ว่าใครๆ

เพลง สองรัก
A D Bm E
ทนเจ็บและยอมรับมา เมื่อเธอได้เจอตัวจริง กว่าฉันถึงต้องไป
A Bm C#m D
แต่มาวันนี้ เธอมีเรื่องราวมากมาย ที่ฟังไม่เข้าใจ ยิ่งฟังยิ่งทรมานฉัน
C#m F# Bm Dm
* เธอบอกเหตุผลที่หยุดความรัก ระหว่างฉัน เพราะเธอไม่รู้ว่า จะรักเขามากกว่าไหม
C#m F# Bm E
ตัวปลอมอย่างฉัน ก็ยังคงรัก บอกอย่างนี้ได้ไง อย่าปล่อยให้หวัง กันอีกเลย
D C#m
** สองรัก ฉันรับไม่ไหว เธอมีหนึ่งใจ ให้ไปตั้ง
D C#m
สองรัก ทั้งเขาและฉัน ฝันไปหรือเธอ
D C#m F#m
มีใคร ยอมทนบ้างไหม ลืมตาตื่นมาสักทีเถอะ
Bm Dm
สองหัวจิต หัวใจอย่างนี้ เลือกซักทีเถอะ เอา ( ซักทาง.... )