วันอาทิตย์ที่ 7 กันยายน พ.ศ. 2551

ชวเลข

ชวเลข (shorthand) หมายถึงวิธีการเขียนข้อความอย่างย่อด้วยสัญลักษณ์ เพื่อเพิ่มความเร็วในการเขียนหรือการจดบันทึก เมื่อเทียบกับการเขียนปกติธรรมดาในภาษาหนึ่งๆ ขั้นตอนของการเขียนให้เป็นชวเลขเรียกว่า การเขียนชวเลข (stenography: มาจากภาษากรีก stenos = แคบ, ใกล้; graphos = การเขียน) หรือบางครั้งอาจเรียกว่า brachygraphy หรือ tachygraphy ชวเลขนั้นมีหลากหลายรูปแบบมาก ระบบชวเลขทั่วไปมักจะมีการกำหนดสัญลักษณ์หรือคำย่อเพื่อแทนคำหรือวลีธรรมดา ซึ่งช่วยให้ผู้ฝึกฝนสามารถเขียนชวเลขได้เร็วพอๆ กับคำพูดของคน
ชวเลข คือภาษาเขียนประเภทหนึ่งที่สามารถใช้แทนภาษาไทยหรือภาษาอังกฤษได้ มีลักษณะเป็นสัญลักษณ์ ใช้เขียนตามเสียง ต้องมีการฝึกฝนจึงจะสามารถใช้เป็นเครื่องมือในการจดตามคำบอกซึ่งอาจเป็นในรูปของจดหมาย หรือคำสั่งต่างๆ ทั้งนี้ ส่วนใหญ่ชวเลขใช้ในการจดบันทึกการประชุม ภาษาชวเลขมีหลักการกว้าง ๆ คือ 1. ชวเลขเป็นการเขียนตามเสียง หมายความว่าจะเขียนตามเสียงที่ได้ยินเท่านั้น แม้ว่าในการเขียนจะมีสระ พยัญชนะอะไร หากไม่ออกเสียงสระหรือพยัญชนะนั้นก็ไม่ต้องเขียนตัวชวเลข เช่น สรวล ตัว ร ไม่ออกเสียง ตัวชวเลขจะเขียนเพียง สวน หรือศาสตร์ ตัว ตร์ ไม่ออกเสียง ตัวชวเลขจะเขียนเพียง สาด 2. ชวเลขไม่มีวรรณยุกต์ การเขียนจะถือการออกเสียงเป็นหลัก แม้การเขียนโดยปกติ คำหรือถ้อยคำนั้นจะมีวรรณยุกต์อยู่ด้วยก็ตาม ผู้ถอดชวเลขจะทราบจากข้อความได้เองว่าคำนั้นคือคำใด เช่น นา หน่า หน้า หนา ตัวชวเลขจะเขียนเป็นตัวเดียวกันคือ นา ถ้าชวเลขเขียนว่า น้าของแดงใจดีมาก ผู้ถอดชวเลขจะทราบทันทีว่า นา ตัวนั้นคือน้า ทั้งนี้เพราะข้อความที่บอกว่าของแดงใจดีมาก ทำให้เข้ารูปประโยค จึงช่วยให้สามารถถอดชวเลขได้อย่างถูกต้อง 3. การอ่านชวเลข ให้ผู้เรียนอ่านพยัญชนะและสระจนมั่นใจว่าจำได้จึงค่อยอ่านบรรทัดต่อมา สำหรับตัวเลขที่เป็นตัวผสมให้ผู้เรียนสะกดแล้วอ่านทีละคำจนคล่อง จากนั้นก็อ่านโดยไม่จำเป็นต้องสะกด ให้อ่านจนคล่องและมั่นใจว่าอ่านได้แล้วจึงค่อยอ่านข้อความต่อไป ชวเลขถือเป็นความสามารถพิเศษ เพราะผู้จดจะสามารถฟังด้วยความเข้าใจและจดตาม เมื่อถอดชวเลขก็สามารถพิมพ์ออกไปได้เลย ทำให้ประหยัดเวลา และผลงานก็ถูกต้องแม่นยำ ชวเลขช่วยให้มีความคล่องตัวสูง เมื่อรับคำสั่งแล้วนำพิมพ์ลงในคอมพิวเตอร์หรือพิมพ์ดีด ก็จะได้ขัดเกลาสำเนาไปในตัวให้เป็นภาษาที่สละสลวยมากขึ้น ผลงานที่พิมพ์ออกมาก็สมบูรณ์ วิชาชวเลขมีบรรจุอยู่ในหลักสูตรสำหรับสายพาณิชยกรรม เป็นวิชาหลักของแผนกเลขานุการในระดับ ปวช. ในโรงเรียนพาณิชยการ และอาจจะเป็นวิชาเลือกในสถาบันเทคโนโลยีราชมงคล หรือสถาบันราชภัฏบางแห่งก็มีการเปิดสอน ผู้สนใจอาจจะหาหนังสือมาอ่านได้ เช่น หนังสือชวเลขไทย 1 ของ ผศ.เกษกานดา สุภาพจน์ ราคาเล่มละ 80 บาท นักข่าวไม่ต้องจดชวเลขเป็นก็ได้ แต่ต้องจดข่าวให้เร็ว อย่างที่เห็นพี่นักข่าวเขาจดยิกๆ กันในทีวีนั่นแล ใช้เทปบันทึกเสียงก็ได้อยู่หรอก แต่มันเสียเวลาต้องมาถอดเทป สู้จดไม่ได้ เร็วกว่า จะใช้ตัวย่อใช้สัญลักษณ์ก็ใช้ไป แต่ต้องเร็วและอ่านออกได้เนื้อถ้อยกระทงความด้วยนา สำหรับคุณสมบัตินักข่าวโดยพื้นฐานก็ต้องรักและสนใจที่จะใฝ่รู้ กระตือรือร้น จะให้ดีควรเรียนสายนิเทศศาสตร์ วารสารศาสตร์ หรือสื่อสารมวลชน

ไม่มีความคิดเห็น: